วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

What makes A Good Teacher / Trainer (คุณลักษณะของครูดี / วิทยากรดี ที่พึงประสงค์)

โดย อาจารย์ ดร. ทนง ทองเต็ม : กรรมการบริหาร สพอ. (081) 936-7548
.
ผมได้อ่านบทความของฝรั่งในหัวข้อเรื่อง What makes a good teacher
แล้วรู้สึกประทับใจเลยเขียนขยายความเล่าสู่กันฟัง และมีความเห็นว่าน่าจะ
นำไปประยุกต์กับการเป็นวิทยากร นักฝึกอบรม นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หรือการบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม ท่านผู้สนใจอ่านแล้วแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องบ้างนะครับ......ขอขอบคุณ
.
1. Has a good sense of humor/smiles
ต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ขันและยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
(ครูต้องไม่เครียด ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส ยิ้มเป็นการสร้างไมตรีโดยที่ไม่ต้อง
ลงทุนอะไร แต่ได้ผลอย่างมากมายได้ความมีมิตรไมตรี ผู้เรียนจะมีขวัญ
กำลังใจที่ดี การมีอารมณ์ขันจะทำให้เกิดเสียงหัวเราะในหมู่ผู้เรียนเกิด
บรรยากาศแห่งการเรียนรู้)
ครูดี อารมณ์ดี มีรอยยิ้ม
ลูกศิษย์อิ่ม เอมใจ ใคร่เรียนรู้
ครูหน้าบึ้ง ขึ้งโกรธ โทษใครครู
เด็กไม่รู้ ขวัญผวา ไม่น่าเรียน
ครูสร้าง เสียงหัวเราะ อารมณ์ขัน
ลูกศิษย์พลัน ขยันเพียร เรียนขีดเขียน
เก็บครูไว้ ในใจ ไร้ติเตียน
ครูขา หนูขยันเรียน เพราะรักครู
อ. ดร. ทนง ทองเต็ม
.
2. Is fair and has good discipline
มีความยุติธรรมและวินัย
(ครูต้องยุติธรรมต่อลูกศิษย์ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกชั้นวรรณะ ศาสนา
และสีผิว ครูต้องเป็นผู้ให้ด้วยความยุติธรรมเท่าเทียมกัน ให้เกรดคะแนนด้วย
ความยุติธรรม ครูต้องเป็นผู้ที่มีวินัย ตรงต่อเวลาตรงต่อหน้าที่ มีใจรักในกระบวน
การเรียนการสอน มีศิลปะวิทยา และมีวินัยในการใฝ่เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่าง
ต่อเนื่อง Discipline ถ้าเป็นพระ หมายถึงศีลปฏิบัติ วินัยสงฆ์ 227 ข้อ ถ้าเป็นครู
คือจรรยาบรรณข้อพึงปฏิบัติของครู และในความหมายที่ลึกซึ้งของ Discipline
ยังหมายถึงศิลปะปฏิบัติ การฝึกฝนจนเกิดความชำนาญช่ำชองเป็นพิเศษ เป็น
วิทยายุทธ์สุดประเสริฐ เป็นครูต้องใช้ Multi Disciplinary Skills คือทักษะ
สหวิทยาการที่หลากหลายในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์)
.
สักวันหนึ่งคงจะรู้ว่าครูรัก
สักวันหนึ่งคงประจักษ์เป็นศักดิ์ศรี
สักวันหนึ่งคงจะรู้ว่าครูดี
สักวันหนึ่งคงได้ดีเพราะมีครู
(ผู้ประพันธ์ : นิรนาม)
.
ใครเป็นครูดูตัวให้ทั่วถ้วน ว่าสมควรเป็นครูหรือหาไม่
ครูแท้แท้ต้องเหนื่อยยากลำบากใจ อบรมให้ศิษย์รุ่งเรืองเปรื่องวิชา
อันครูนั้นหมายรวยด้วยมีศิษย์ ส่วนอามิสอื่นใดไม่ปรารถนา
แม้ชีพลับดับสิ้นสูญกายา ดินกลบหน้าชื่อครูยังอยู่เอย
อ. ดร. ไสว สุทธิพิทักษ์
อธิการบดี ผู้ก่อตั้งมหาวิททยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
.
3. Is intelligent/knows the subject
ต้องเฉลียวฉลาดปราชญ์เปรื่องรู้เรื่องวิชาการเป็นอย่างดี
(ครู คือ กูรู แปลว่าผู้รู้ ครุ คือผู้หนัก ผู้มีภาระอันหนักอึ้งที่จะต้องสั่งสอนศิษย์
ดังนั้น ความหนักของครูคือต้องรู้แจ้ง เห็นจริง ในสิ่ง (หรือหัวข้อวิชา) ที่จะ
สอน รู้ในที่นี้ยังหมายถึงจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร โดยอาศัยการเน้นย้ำเสริมแรงและให้ความ
ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแก่ศิษย์ ครูมิใช่เป็นเพียงทรัพยากร (Input) ทางการศึกษา
เท่านั้น แต่ครูต้องรับภาระอันหนึกอึ้งโดยต้องทำหน้าที่ เล่นบทบาทเป็น
กระบวนการ (Process) เป็นตัวกลางเร่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม
ของเด็ก ทั้งความรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ เพื่อให้
เด็กนักเรียนเป็นดี ศรีสังคม ชื่นชมในความเป็นไทย และมีใจรักชาติ ศาสน์
กษัตริย์ ยึดมั่นในรัฐธรรมนูญ อันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
.
ครูฉลาด เด็กฉลาด ชาติเจริญ
แต่ถ้าครู มัวหลงเพลิน เด็กโง่เขลา
ครูไม่เปลี่ยน หยุดกับที่ ปัญญาเบา
อวิชชา บดบังเอา จะอับจน
ครูต้องหมั่น เรียนรู้ สู่โลกกว้าง
ครูต้องสร้าง ผลงาน อย่าสับสน
ทำคู่มือ งานวิจัย ไว้ฝึกคน
ฝึกทั้งตน ฝึกทั้งศิษย์ คือ “ศึกษิตแห่งปัญญา”
อ. ดร. ทนง ทองเต็ม
.
4. Is kind/patient
ต้องมีความเมตตากรุณาและอดทน
(อันความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่...ถ้าครูไม่เมตตา ไม่ปราณี ไม่มี
ใจกรุณาต่อศิษย์ ขาดความรักความเอาใจใส่ ไม่สนใจในการสอน แน่นอน
ศิษย์ก็จะไม่เกิดซึ่งพุทธิปัญญา จริยศึกษา และหัตถะศึกษา ก็เป็นการศึกษา
ที่ไร้ค่าอย่างสิ้นเชิง เด็กนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมากมายในภูมิหลัง
ครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ สภาพแวดล้อม
ของสังคมในที่พักอาศัย ในความแตกต่าง เหล่านี้ครูต้องอดทน อดกลั้น
และเชื่อมั่นในความเป็นครู สู้งานหนัก เพื่อพัฒนาให้เด็กมี ความเจริญงอกงาม
ทั้งกายวาจา ใจ ต้องทำให้เขาเป็นที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ
และอารมณ์ นั้นคือความชื่นชมของครูผู้มีความเมตตา กรุณา และอดทน)
.
เขาว่าครู คือเรือจ้าง ข้างถนน
เขาว่าครู ขี้บ่น ขี้โมโห
เขาว่าครู เอาแต่ใจ ชอบคุยโว
เขาว่าครู แต่งตัวโก้ งานสบาย
แท้ที่จริง อาชีพครู นั้นลำบาก
เงินเดือนน้อย แต่งานมาก หนักเหลือหลาย
เตรียมการสอน ต้องที่บ้าน อ่านแทบตาย
เหนื่อยใจกาย ไม่เคยได้ เรื่องโอที
ที่ครูทำ เพราะรู้ค่า ความเมตตา
ครูกรุณา หวังให้ศิษย์ มีศักดิ์ศรี
ครูอดทน เพราะอยากให้ ศิษย์ได้ดี
ครูคนนี้ ชื่อ “เมตา” นามสกุล “รักอดทน”
อ. ดร. ทนง ทองเต็ม
.
5. Sets a good example
สร้างตัวอย่างที่ดี
(ครูคือพ่อพิมพ์ แม่พิมพ์ของชาติ ครูต้องเป็นตัวอย่างที่อยู่ในใจของเด็ก ในโลก
ของการบริหารจัดการยุคใหม่ครูต้องทำตัวเป็น Role Model ที่อยู่ในความทรงจำ
ของเด็ก และเป็นแบบอย่างที่เด็กยึดถือ สมัยก่อนไปถามเด็กว่าโตขึ้นอยากเป็น
อะไร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 คำตอบคือ อยากเป็นครู ครูเป็นช่างปั้นหม้อ ครูเป็น
เรือจ้างถ้าหม้อไม่สวย เรือแจวไปไม่ถึงจุดหมาย เด็กไร้ซึ่งความรู้ คู่คุณธรรม
แล้วใครจะนำชาติไทยให้เจริญ)
.
คุณลักษณะของครูดีที่พึงประสงค์ คุณลักษณะของครูเลวที่ไม่พึงประสงค์
1. ดูคนออก..................................................1. รับแขก
2. บอกคนได้............................................... 2. แจกเหล้า
3. ใช้คนเป็น................................................ 3. เฝ้าประชุม
4. เน้นคุณภาพ............................................ 4. ซุ่มนักร้อง
5. ซาบซึ้งคุณธรรม..................................... 5. จ้องเด็กเสริฟ
6. นำทีมให้ก้าวหน้า.................................... 6. มือเติบใช้จ่าย
7. ตัดสินใจแก้ปัญหา................................... 7. ยักย้ายทรัพยากร
8. พัฒนาลูกศิษย์........................................ 8. แง่งอนเจ้าปัญหา
9. คิดแต่จ้องจับถูก...................................... 9. ดุด่าลูกศิษย์
10. ปลูกฝังค่านิยม.....................................10. คอยจ้องจับผิด
11. ชื่นชมจูงใจ.......................................... 11. ดวงจิตริษยา
12. ให้ความยุติธรรม...................................12. ไม่กล้าตัดสินใจ
13. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง.................... 13. ไร้วิสัยทัศน์
14. สำแดงวิสัยทัศน์..................................14. บอกปัดความรับผิดชอบ
15. เจนจัดเชิงกลยุทธ์................................ 15. ไม่มีกรอบกลยุทธ์
16. ไม่ฉุดหรือขัดขาผู้อื่น........................... 16. ชอบฉุดและขัดขาผู้อื่น
17. เป็นผู้ตื่นตลอดเวลา..............................17. ตื่นกลัวชั่วโฉดเขลา
18. นักพัฒนาสังคม...................................18. มุ่งเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน
.
6. Understands/respects everyone as an individual
เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์ทุกคนในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล
(ครูต้องยอมรับในความแตกต่างของลูกศิษย์ เนื่องจากแต่ละคนมีพื้นฐานที่
แตกต่างกัน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม ครอบครัว เพศ อายุ ศาสนา ทัศนคติ และ
ความเชื่ออื่น ๆ ครูต้องเข้าใจว่าความแตกต่างไม่ใช่ความแตกแยก หน้าที่ครู
ไม่ใช่ชักนำ ไม่ใช่ชี้นำ แต่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิด เพื่อผู้เรียนจะได้วิเคราะห์
เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีในชีวิตของเขา ครูต้องยอมรับ
ในความสามารถของลูกศิษย์แต่ละคนที่มีอยู่ รู้จักชมเชยให้กำลังใจต้องเชื่อมั่น
ว่าผู้เรียนไม่รู้ แสดงว่าครูไม่ได้สอน คนที่เรียนช้าไม่ได้แปลว่าเขาโง่ ไม่มีคนโง่
ไม่มีคนฉลาด มีแต่คนที่รู้ กับคนที่ยังไม่รู้ หน้าที่ครูต้องทำให้ลูกศิษย์เกิดการ
เรียนรู้ ถ้าครูต่อว่าลูกศิษย์ว่าโง่ ลูกศิษย์ก็มีสิทธิ์ที่จะคิดว่า “ก็ครูรู้อยู่แล้วว่า
พวกผม/พวกหนูโง่แล้วทำไมครูถึงมาทนโง่ สอนเด็กโง่ ๆ อย่างพวกผม/พวกหนู
ครูน่าจะไปสอนเด็กพวกที่ฉลาด ๆโรงเรียนที่ฉลาด ๆ แสดงว่าครูโง่กว่าพวกหนู
ถึงทนโง่มาสอนเด็กโง่อยู่ได้ ??????? บริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทใหญ่
อยู่ในสังกัดของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีค่านิยมหลักที่ระบุไว้
อย่างชัดเจนข้อหนึ่งคือ Believe in the Individual นั่นคือเชื่อมั่นในคุณค่าของ
ทรัพยากรบุคคล)
.
คนไม่รู้ มิใช่ว่า เขาโง่
คนคุยโต อาจไม่โต ในรูปร่าง
คนคุยเก่ง อาจไม่รู้ ในทุกทาง
คนที่กร่าง อาจมิใช่ ใจนักเลง
คนเรานั้น แตกต่าง ในความคิด
คนคิดต่าง ใช่ว่าผิด อย่าข่มเหง
คนคิดแปลก แตกต่าง อย่ากริ่งเกรง
คนคิดเก่ง ต้องสร้างสรรค์ เพื่อสังคม
อ. ดร. ทนง ทองเต็ม
.
7. Always helps people having difficulties
พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ยากลำบากใจ
(ครูต้องมีใจเมตตา พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือศิษย์ เป็น Coach ที่ดี
เป็นผู้ให้คำชี้แนะสั่งสอนเมื่อลูกศิษย์มีปัญหา ทั้งนี้ยังหมายรวมไปถือเพื่อนครู
บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลอื่นที่มาขอความช่วยเหลือด้วย ทั้งนี้เพราะครู
คือผู้รู้ ผู้ซึ่งบุคคลทั่วไปให้การยอมรับนับถือ ครูคือผู้พัฒนาสังคม)
.
คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
คุณบิดรดุจอา กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณครูอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร
โคลงโลกนิติ
.
8. Doesn’t give up / Believes in everyone
อย่ายอมแพ้ จงเชื่อมั่นในทุกผู้คน
(ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม เมื่อพบกับ
ปัญหาอย่ายอมแพ้ อย่าท้อแท้ต้องเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเราเอง และ
ความสามารถในตัวของบุคคลอื่น เมื่อเรารวมกัน รู้รักสามัคคีรู้ คือใฝ่เรียนรู้ รัก
คือมีฉันทะ สามัคคี คือทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องแลกเปลี่ยน
เรียนรู้เป็นครูคนละอย่าง เมื่อเราทำไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ตก ยังมีบุคคลอื่นที่มี
ความรู้ความสามารถ ลองแลกเปลี่ยนกันดู ก็ครูของเราอย่างไรเล่า ลืมเสียแล้ว
หรือ และครูคนแรกของเรา ก็คือคุณพ่อ คุณแม่ อย่าลืมท่าน ผู้ซึ่งรักเรา และ
หวังดีกับเราที่สุด) Don’t wait to be told, Be a self starter.
(เมื่อเจอปัญหาไม่ต้องคอยให้ใครเขาบอก เริ่มต้นที่ตัวเราก่อน)
There is no limit in human being heart.
(ไม่มีขีดจำกัดในหัวใจของมนุษยชาติ)
ใต้ฟากฟ้านี้มิมีอะไรยาก เว้นเสียหากดวงใจจะไม่ตั้ง
(สุภาษิตจีน)
ระยะทางหมื่นลี้ ความยากอยู่ที่เพียงก้าวแรกของความตั้งใจที่จะเดิน
(สุภาษิตจีน)
คุยกับยอดคนคืนเดียว ดีกว่าท่องเที่ยวไปสิบปี
(สุภาษิตจีน)
Impossible is nothing in the heart of David Beckham.
(คำว่าเป็นไปไม่ได้ไม่มีในหัวใจของ เดวิด เบคแฮม นักฟุตบอลยอดเยี่ยม
ของอังกฤษ)
.
9. Gives incentive’s rewards or house point Says “Well done”
ให้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจ ให้คำชมสม่ำเสมอ “ใช่แล้ว ดีมาก เยี่ยมยอดไปเลย”
(หลักการเป็นครูที่ดี ต้องเป็นที่คอยให้กำลังใจลูกศิษย์ ให้วันละน้อยนิดจะติด
เป็นนิสัย แต่คำชมอย่างจริงใจให้พลังอันมหาศาลต่อศิษย์ ที่จิตใจเขาจะ
ชุ่มชื่น เบ่งบาน และพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นคนเก่ง ดี มีสุขมีความพร้อม
ทั้งกาย วาจา ใจ และอารมณ์ คำดุ ด่าว่ากล่าวศิษย์ในห้อง คือการประจาน
อย่างชั่วร้ายหัวใจศิษย์แหลกสลาย ไม่มียาใดหรือกาวยี่ห้อใด จะมาประสาน
ใจให้กลับคืน ครูผู้เป็นช่างปั้นหม้อโปรดสานต่อและแต่งแต้มสีสันหัวใจศิษย์
ตัวน้อย ๆ ให้สวยงามและแจ่มจรัส เจิดจ้า ประกายแสง
ต่อไปในชีวิตการศึกษาภายภาคหน้าของเขาด้วยเถิด)
.
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
ถึงเจ็บอื่นหมื่นแสนไม่แคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเขาเหน็บให้เจ็บใจ
สุนทรภู่ (พระสุนทรโวหาร)
.
อ่านแล้ว ลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นครูคนละอย่าง อภิปราย ให้ทัศนะ
มุมมองกันบ้างนะครับ
อาจารย์ ดร. ทนง ทองเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น